สล่าแจ็ค (อาจารย์แจ็ค)
นายธวัชชัย ทำทอง
สล่า-วัด
จังหวัดลำปาง
งานการออกแบบของสล่าแจ๊คจะใช้วัสดุที่ผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูนและไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างไม้ แล้วแต่ละส่วนในงบประมาณของวัด
โครงสร้างประกอบด้วย ๒ รูปแบบ คือ
ประดับตกแต่งด้วย “ความพอดี” คือประดับตกแต่งไม่มากไปและไม่น้อยไป ตกแต่งแต่พองาม อาจจะใช้การประดับตกแต่งจากไม้ ปูนหรือแบบผสมผสานที่คลุกเคล้ากันไป นอกจากความพอดีแล้ว การประดับตกแต่งต้องเป็นการเรียงร้อยเรื่องราวในวิหาร ๑ หลังให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อเข้าถึงความรู้สึกของผู้คนที่เข้ามากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด
“สล่า” หรือช่าง ต้องเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ มีความพยายามและตั้งใจจริงๆ เพราะในอดีตไม่ได้มีโรงเรียนช่าง ไม่ได้มีองค์ความรู้ที่หาได้ง่ายเหมือนในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการจะเป็นสล่าได้ต้องมีองค์ความรู้ ๓ ประการ ได้แก่ ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน สล่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นน้อย (เณรที่ลาสิกขา) หรือหนาน (พระที่ลาสิกขา) แสดงว่าสล่าต้องมีองค์ความรู้ ๓ ประการแล้วจึงจะมาเป็นสล่าได้ ในการสร้างวิหารจะเริ่มตั้งแต่การวางผัง โดยวิหารแต่ละวัดจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ซึ่งในการสร้างวิหารแต่ละเดือน การวางผังอาคารอาจจะไม่เท่ากัน เพราะจะสร้างเดือนไหนเราจะใช้ตะวันของเดือนนั้นเป็นตัวกำหนดทิศ ซึ่งวิหารบางหลังใช้การวางผังเป็นปี เพื่อให้ได้ความแม่นยำและแน่นอนตามหลักดาราศาสตร์ผนวกกับความเชื่อที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
สัดส่วน
มอก = แนวขวาง
โฉลก = แนวยาว
ขื่อเป็นนาย
ลวดลายประดับตกแต่ง
ลายแกะสลักไม้ ลวดลายพื้นเมืองล้านนาลำปาง
ป้านลมเชียงแสน แนวความคิดจากอิทธิพลเชียงแสน