logo
asset
asset

ประเภทของวิหารล้านนา

วิหารต่อท้ายจรนัม
วิหารต่อท้ายจรนัม วิหารต่อท้ายจรนัมหรือวิหารทรงปราสาทเป็นวิหารที่มีลักษณะเด่น ทรงปิด มีการก่อผนังจากฐานขึ้นไปจรดโครงหลังคาปิดล้อมทุกด้าน โดยอาจจะเป็นฝาไม้ผสมผนังก่ออิฐฉาบปูน หรือก่ออิฐฉาบปูนตลออดทั้งผืนผนัง
วิหารปิด
วิหารปิด เป็นวิหารที่มีผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีแผนผังและองค์ประกอบตกแต่งคล้ายกับวิหารประเภทอื่นๆ
วิหารโถง
วิหารโถง เป็นวิหารเปิดโล่ง ไม่มีผนังด้านข้าง ยกเว้นห้องสุดท้าย ตัวอาคารจะใช้ผนังลูกผักไม้เพื่อป้องกันแดดฝน

องค์ประกอบทางโครงสร้างและศิลปกรรมของวิหารล้านนา

วิหารล้านนามีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมในภาคอื่น ๆ มาก รวมถึงยังมีการเรียกชื่อเฉพาะเป็นภาษาพื้นเมืองล้านนา ซึ่งองค์ประกอบของวิหารนี้สามารถแบ่งออกเป็นได้เป็นองค์ประกอบทางโครงสร้างและองค์ประกอบทางศิลปกรรม ดังนี้ (วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ, เมืองโบราณ, ตุลาคม ๒๕๔๔, หน้า ๓๐)

องค์ประกอบทางโครงสร้าง

โครงสร้างรับน้ำ หนัก หมายถึง โครงสร้างส่วนหลังคาและเสาของวิหารล้านนา ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ขื่อม้าต่างไหม” ซึ่งนำ มาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าไปขายของของพ่อค้าม้าต่างบนเส้นทางสายไหม และลักษณะเช่นนี้มีความคล้ายคลึงกับลักษณะโครงสร้างรับน้ำ หนักของวิหารล้านนา ที่มีการถ่ายน้ำ หนักจากโครงสร้างหลังคาลงมาที่เสาและคาน ซึ่งคล้ายกับการถ่ายน้ำ หนักบรรทุกสินค้าบนหลังม้า โครงสร้างชนิดนี้ปรากฏชื่อในตำ นานตั้งแต่สมัยของพญามังรายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นับว่าโครงสร้างชนิดนี้เป็นโครงสร้างที่มีการสืบทอดแต่โบราณมากกว่า ๖๐๐ ปี นอกจากนี้แล้วชาวล้านนายังมีตำ ราการสร้างวิหารเรื่อง “ลักขณะวิหาร” อันมีรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างวิหาร และมีการกล่าวถึงชื่อองค์ประกอบทางโครงสร้างไว้ด้วย ดังนี้

“...ตัดไม้วิหาร หื้อเอาขื่อหลวงเป็นนาย หื้อเอาขื่อมาแทกหัว หื้อเป็นหัวของมันแล้วเหลี่ยมแป๋มาตั้งแล้ว หักกลางใจ๋ไว้แล้ว แทกขี้หลวงมาหัก ๖ เสีย ๒ ยัง ๔ ส่วนเป็นขื่อยี่ ตั้งใหม่ท่าวลุกหัวขึ้นแถมนอก นั้นแล หัวขี้แทกนั้นเหลี่ยมเดียว เป็นนายอย่าหื้อ มันทวากยาก เพื่อขื่อม้านั้น หื้อเอาเกิ่งขื่อหลวงแถมนอกม้ายี่นั้น หื้อเอาขื่อหลวงมาแปหลังม้าแต่หัวเข้า มาปูนไหนหมายหั้น เป็นขื่อม้ายี่แลว ม้า ๓ นั้นก็เอาขื่อยี่มาตั้งปูนไหนหมายหั้น เป็นม้า ๓ แล ในไม้อันหัก ๖ เสีย ๒ ส่วน เป็นสะโก๋น แกนนอกนั้นเป็นคอกีบเสีย ๑ ย่ำ แป๋ในที่อันหัก ๒ อัน ลุ่มน้ำ ม้า ๓ แป๋หลังทังมาเข้าตีนตั้งใหม่ชุอันแล ในแป๋อ้ายหลังซดนั้น เข้าสะโก๋นนั้น หื้อหักคอคีบหลังเป็น ๘ ส่วน แป๋อ้ายเข้าหั้นแล แทกคอกีบลงมาปลงคอคีบหลังซด ในยางนาคชายบนนั้น หื้อเอา ๘ หัก แป๋แต่กี๊นั้นไว้ลุ่ม ๒ บน ๘ ย่ำ แกนขี้ยางขาวเท่าหัว แต่ดีนตั้งใหม่ออกแกนในนั้นแล้ว ในยางชายลุ่มนั้น เป็นดั้ง ยางบนดังกล่าว ในยางซ้อนแป๋ ซดมา จับนั้น หื้อแทกแต่ปลายสะโก๋นนั้นลงมาถึงตีนยาง แทกแต่ตีนยางลงรอดที่ใด ยางเข้าหั้นชุหลังแลฯ เท่าว่าแป๋อ้าย หื้อเข้าเสาหลวง แป๋ยี่นั้นหื้อ ปลงตุ้มขื่อหลวง ล้ำ นั้นก็หื้อลำ ดับกันลงมาชุที่ ในขื่อม้านั้นบ่เป็นซื่อนัก เอา ๓ จักใคจีดหื้อห้อยก็ปลงตามนั้น จักจิ่มพอหื้อเป็นประตู ก็ปลงตามนั้นเทอะฯ จักกล่าวลักขณะ ตัดวิหารขื่อหวายก่อนแลหื้อเอาขื่อหวายเป็นนาย มาหักเป็น ๔ ส่วน หื้อไว้หัวสะตวง ส่วนเป็นกล๋างใจ๋ ๒ ส่วน คู๋ที่ป่องที่หมาย ๒ แห่งนั้น หื้อเป็นที่ตั้งตีนเสาหั้นแล เสาอ้ายนั้นลวงยาวแต่หัวขึ้นไปถึงตีนเสาหน้ากลางในแกนนอกนั้น ขื่อหลวงบนนั้นแถกแต่รูตีนขึ้นลุ่มนั้นมาเป็นขื่ออ้ายหััวนอรูแล้วขื่อนั้นมา หักเป็น ๔ ส่วน เอา ๓ ส่วนเป็นขื่อยี่ ขื่อยี่เป็นขื่อ ๓ เสีย ๒ ส่วน เป็นที่พิจารณาดั้งยาวเท่าขื่อสาม แถมนอกนั้นแล ตั้งใหม่ลุ่มนั้นท่าวหัวขื่อ ลูกเป็นตั้งใหม่หื้อตัดเสียลามไม้ ๑ นั้นตั้งใหม่บนนั้น ยาว ๑ ม้ายี่นั้นแถกหัวขื่อหลวงมาหมายเป็นดั้งใหม่ หันขื่อยามเท่าม้าอันม้าสาม นั้นก็แถกหัวม้ายีเสาเข้าเป็นตั้งใหม่ ๓ หื้อเอาม้า ๓ ยาวเท่ากันตามลำ ดับลงมาชุแห่งแลฯ ตั้งไม้นั้นก็ตามตั้งบนนั้นลงมาดังเก่า แป๋หลังซดนั้นมาเข้าหลังหลวงนั้น หื้อเอาคอคีบหลังหลวงนั้นมาหัก ๓ ไว้บน ๒ ส่วน แล้วย้ำ รูแป๋อ้าย ชดเข้าคอคีบ แทกมานหมายแต่นั้นลงมาเข้าหั้น ยางนั้นก็เอาอันนั้นหัก แต่กี้นั้นไว้บนลุ่ม ๒ ย้ำ แกมขึ้นบนเต็มระเบียงก็สันดายนั้น หลังซดก็ดันคันเลี้ยงแล พิจารณาดีดีเทอะถ้วนเต็มที่แลเจ้าทั้งหลายเหยฯ”๘

จากข้อความข้างต้น เป็นตำ ราว่าด้วยการก่อสร้างวิหารล้านนาโดยเฉพาะส่วนของโครงสร้างที่มีการตัดไม้แบ่งออกเป็นหลายส่วน และหลายตัว ทั้งนี้เพราะโครงสร้างส่วนของหลังคาวิหารล้านนามีน้ำ หนักมากและยังมีการลดชั้นยกเก็จ ที่เรียกว่า ซด จึงทำ ให้มีองค์ประกอบมาก จากข้อความข้างต้น สามารถแบ่งองค์ประกอบได้ดังนี้

วิหารล้านนา

ผนังอาคาร ปราการหรือป๋างเอกของวิหารล้านนา มีการสร้างด้วยวัสดุ๒ ประเภท คือไม้และปูน บ่อยครั้งจะพบการสร้างวิหารที่ผนังครึ่งบนเป็นไม้ลักษณะการเข้าฝาปะกน ครึ่งล่างเป็นปูน และในบริเวณห้องที่ประดิษฐานพระประธานมักมีการเจาะช่องหน้าต่างเป็นรูปกากบาทที่เรียกว่า ช่องตีนกาหรือปล่องจงกล เพื่อรับแสงหรือระบายอากาศ

สำหรับวิหารโถงจะมีการสร้างผนังปูนด้านท้ายของห้องวิหาร ส่วนบริเวณโดยรอบจะมีการกั้นผนังที่มีการสร้างเพียงครึ่งเดียวของเสา รับน้ำหนักส่วนด้านนอกสุด ที่มีชื่อเฉพาะว่า “ฝาหยาบ” หรือ “ฝาย้อย” ซึ่งปล่อยส่วนล่างให้โล่งจึงไม่จำ เป็นต้องมีการสร้างหน้าต่าง

เสาวิหาร ทำหน้าที่รองรับน้ำ หนักเครื่องหลังคา เสาวิหารล้านนามักมีการสร้างใน ๒ รูปแบบ คือ

ฐานวิหาร เป็นส่วนสำ คัญของวิหารล้านนา เพราะวิหารล้านนาไม่นิยมสร้างติดพื้นดิน จะต้องมีการสร้างฐานวิหารให้สูงขึ้นมาราว ๑ เมตร โดยจะทำ เป็นลักษณะฐานเขียง ๓ ชั้น รองรับชุดฐานปัทม์

วิหารล้านนา

องค์ประกอบทางศิลปกรรมของวิหารล้านนามีจำ นวนมาก และบ่อยครั้งจะเป็นศัพท์เฉพาะของล้านนา จึงแบ่งเรื่ององค์ประกอบทางศิลปกรรมตามวัสดุในการสร้าง ได้แก่

วิหารล้านนา

๑. องค์ประกอบเครื่องไม้

ส่วนกลาง เป็นบริเวณที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายมากที่สุด
ส่วนล่าง เป็นส่วนที่เล็กและอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม

๒. องค์ประกอบเครื่องปูน

ปราสาทเฟื้อง ช่อฟ้ายองปลี
ปราสาทเฟื้อง ช่อฟ้ายองปลี (อ่านว่า จ้อฟ้าญองปี๋) รูปจำ ลองของปราสาทขนาดเล็ก มักสร้างอยู่ตรงกลางของสันหลังคาวิหาร
ประตูโขง
ประตูโขง : หรือซุ้มประตูโขงที่สร้างติดกับผนังด้านหน้าของวิหาร ทั้งนี้คำ ว่าโขงมีความหมายถึงการโค้งของซุ่มประตู นิยมประดับด้วยลวดลายปูนปั้นแบบล้านนา
ฐานชุกชี
ฐานชุกชี หรือแท่นแก้ว : เป็นฐานที่ประดิษฐานพระประธาน มักตั้งอยู่ในห้องวิหารห้องสุดท้าย หรือห้องก่อนสุดท้าย
กู่พระเจ้า
กู่พระเจ้า หรือโขงพระเจ้า : มณฑปรูปคล้ายเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานวิหาร มักตั้งในห้องท้ายวิหารหรือห้องก่อนวิหาร

แท่นวางดอกไม้ : เป็นแท่นที่มักสร้างไว้ทางด้านหน้าหรือหลังของวิหาร มีจำ นวนไม่จำ กัด บางครั้งมีจำ นวนถึง ๕ แท่นหน้าวิหาร สำ หรับวิหารที่มีการสร้างในยุคหลังจะไม่ปรากฏการสร้างแท่นวางดอกไม้นี้อีกแล้ว ทั้งนี้เพราะประเพณีที่ต้องมีการนำ ดอกไม้มาวางบูชายังแท่นวางดอกไม้นี้ได้ลบเลือนลงไปแล้ว

๓. องค์ประกอบเครื่องปั้นดินเผา

๔. องค์ประกอบเครื่องโลหะ

วิหารล้านนา

อ้างอิง