สล่าพ่อหนานไวย์
นายวัฒนา บุญยืน
สล่า-วัด
จังหวัดลำพูน
วิหารจะงามไม่งามขึ้นอยู่กับสัดส่วนสำคัญที่สุด คือ
ส่วนของหลังคาและการประดับตกแต่งรองลงมา ไม่ว่าจะเป็น ช่อฟ้า ใบระกา
หรือลวดลาย และสิ่งสำคัญต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์
ในการออกแบบลวดลายการประดับประดา จะดูจากบริบทของสถานที่ หากเป็นพื้นที่ในแถบล้านนา จะใช้เป็นลวดลายแบบล้านนา โดยการออกแบบลวดลายจะวัดขนาดจริงจากหน้างานเพื่อมาใช้ในการออกแบบ เช่น การออกแบบหน้าบัน จะแบ่งเป็น ๒ ด้าน แล้วเขียนแบบเพียง ๑ ด้าน และนำไปสลับอีกฝั่งหนึ่ง ร่างแบบจากดินสอแล้วลงหมึก โดยแต่ละสถานที่ลวดลายก็จะแตกต่างกันออกไป สล่าไวย์จะทำตั้งแต่ออกแบบลวดลาย บางที่อาจจะเป็นไม้แกะสลัก หรือบางอันอาจจะเป็นปูนปั้น งานส่วนใหญ่จะเป็นปั้นสด ลวดลายอาจจะเหมือนกันได้ แต่ขนาดจะไม่เท่ากัน แต่ละวัดจึงต้องเขียนแบบใหม่ทุกครั้ง เพราะแบบจะขนาดเท่าของจริง ซึ่งในการทำงานจริงอาจจะเกิดการปรับเปลี่ยนลวดลายหน้างานตามความเหมาะสม หรือความงาม ณ ขณะนั้น
การแกะสลักไม้
ลวดลาย