>
logo
asset
asset
สล่าพ่อหนานไวย์
สล่าพ่อหนานไวย์อยู่กับวัดมาตั้งแต่เด็ก แต่แรกอยู่ที่วัดบ้านหวาย คล้ายเด็กวัด ทำวัดเช้า-เย็น ทำสมาธิ สวดมนต์คลุกคลีกับพระกับเจ้า ตามคุณพ่อที่เป็นช่างรับจ้างต่างๆ ในวัด จึงมีความผูกพันกับศาสนาพุทธแต่เด็ก และด้วยความชื่นชอบในด้านศิลปะ มีฝีมือทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน ที่ชอบปั้นดินปั้นทรายเป็นรูปสัตว์ รูปต่างๆ จนปั้นเป็นรูปพระพุทธรูป คุณพ่อมาเห็นชมว่าปั้นดีปั้นงาม แต่ไม่ควรมาปั้นกับดิน หรือสถานที่ที่ไม่ใช่วัด เพราะไม่เหมาะสม จึงพาไปช่วยงานที่วัด เพราะเห็นว่ามีฝีมือ จนตอนอายุ ๑๓ เข้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า ได้รับชุดสิ่วมาจากคุณพ่อ มาแกะสลักช้าง หนุมานไม้สักแผ่น ขนาด ๔๐ x ๕๐ เซนติเมตร หลังจากนั้นก็เริ่มแกะสลักหน้าพระหน้านาง หาแบบจากหนังสือต่างๆ
“ งานออกแบบศาสนสถาน สวยไม่สวย ขึ้นอยู่กับฝีมือ ความสามารถ ความอดทน ความตั้งใจ ความพยายามที่จะทำให้เสร็จ ตั้งแต่การเริ่มเขียนแบบจนสร้างเสร็จ ต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ลูกหลานได้นำไปเป็นแบบอย่างที่ดีและสืบทอดต่อไป ”
การวางผัง

การออกแบบวิหารวัด เริ่มออกแบบจากหลังคา ซึ่งความสูง-ต่ำ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของเจ้าภาพ ขนาดของพื้นที่ จำนวนห้องวิหาร บางครั้งก็จะตามจำนวนของผู้ใช้ ที่เจ้าภาพต้องการ หรือสล่าไวย์ก็จะคำนวนและเสนอให้ทางเจ้าภาพ แบบของวิหารก่อนการก่อสร้างจะประกอบด้วย ผังพื้น ๑ รูป, รูปด้านหน้า ๑ รูป และรูปตัดตามขวาง ๑ รูป

การหาสัดส่วน รูปทรงของหลังคา ต้องทราบความกว้างของวิหาร เพื่อรู้ระยะคอสองระหว่างเชิงชายบนและเชิงชายล่างที่ซ้อนกัน ซึ่งมีกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยระยะความสูงของคอสองจะเป็น ๔๐, ๔๕, ๕๐, ๕๕ และ ๖๐ เซนติเมตร แล้วจึงทราบสัดส่วนรูปทรง โดยความกว้างของขื่อ (ต๋าว) แล้วตั้งอกไก่ขึ้น (ลุก) ซึ่งถ้าสัดส่วนไม่สวยจะเพิ่มความสูงของอกไก่ ในสมัยโบราณว่า “ขื่อเต๋าใด ก็เอาต๋าวลุก” ความว่าขนาดขื่อเท่าไหร่ก็ตั้งขึ้นจะมีขนาดเท่ากันกับความสูงของอกไก่ เมื่อได้สัดส่วนคอสอง ส่วนม้าต่างไหมจะถูกนำมาใช้เป็น ตัววัดสัดส่วนขององค์ประกอบนั้น

การประดับตกแต่ง
การประดับตกแต่งปูนปั้น การประดับปูนปั้นโบราณ ซึ่งในแต่ละลวดลายจะใช้ปูนปั้นหลาย ๆ แบบและแตกต่างกันออกไป ซึ่งปูนปั้นใช้ ๒ สูตร ได้แก่ สูตรโบราณและสูตรสะตายจี๋น
การประดับตกแต่ง
การประดับตกแต่งไม้แกะสลัก การประดับตกแต่งไม้แกะสลัก แกะสลัดไม้ด้วยเทคนิค นูน-ต่ำทำให้เกิดมิติที่สวยงาม