logo
asset
asset
เจิงช่าง

สล่าจุลใช้ประสบการณ์ที่มีเป็นความรู้แก่ตัวเองเสมอ และจะต้องรู้ทุกอย่างที่ถูกต้อง เพื่อที่จะนำไปคุยทั้งกับเจ้าของและช่าง รู้ทั้งวิธีการเลือกหาวัสดุ วิธีการเชิงช่าง วัสดุ อุปกรณ์ เพราะช่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้สถาปนิกทำงาน เนื่องจากสถาปนิกไม่รู้เรื่องงานไม้ ช่างก็จะไล่บ้างให้ไปยืนดูไกลๆ บ้าง ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาภายหลัง แต่หากมีความรู้บทสนทนาจะเปลี่ยนไป จะสามารถทำงานกับช่างได้สะดวกสบายและเกิดงานที่มีคุณภาพ ฉะนั้นการเป็นสล่าหรือสถาปนิกก็ไม่ต่างกัน เพราะถือเป็นผู้คุมงานก่อสร้าง จะต้องรู้เชิงช่างให้ได้เท่าหรือมากกว่าช่าง

สล่าจุล

เครื่องมือและเทคนิคเชิงช่างเป็นสิ่งสำคัญ สล่าจุลสนใจเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงวัยเรียน แต่ไม่ได้เรียนอย่างลึกซึ้ง ได้เริ่มต้นเรียนรู้อีกครั้งก็เมื่อได้มาจากที่ทำโครงการใน ศรีบัวบาน เรียนรู้จากช่างพื้นถิ่น เสาะหาที่ซื้อเครื่องมือให้ช่าง ทำงานร่วมกับช่างอย่างเป็นมิตร เจ้าของเรือนมาเห็นก็มีความสุข เพราะเรือนสร้างโดยคนที่มีความสุข พออยู่ไปในอนาคตก็รับรู้ถึงความสบายที่ผ่านมือสล่าและช่าง

เครื่องมือและอุปกรณ์

เครื่องมือสร้างเรือน

  1. ขวานหงอน ลักษณะส่วนด้ามเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ ส่วนหงอนเป็นไม้ก่อเป็นศูนย์ทำให้ได้จุดที่ถากได้แม่นยำ ใช้ถากส่วนผิว ขึ้นรูปหยาบส่วนของเสา คาน
  2. พร้า ลักษณะด้ามจับเป็นไม้สั้น ส่วนมีดมีละกษณะหัวตัด คมมีความเว้า เมื่อใช้ถากไม้จะเกาะเสาได้ดี หรือเรียกว่า “กินไม้ดี” ใช้ถากส่วนผิว เก็บรายละเอียด
  3. ขวานเชียงใหม่ (มุย) ลักษณะด้ามเป็นวัสดุไม้ ส่วนขวานเป็นเหล็กตี ๑ ชิ้น มีลักษณะคล้ายลูกสะบ้า จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ขวานสะบ้า” (มี ๒ รูปแบบ หัวแพะและหัวสะบ้า) สามารถใช้ทั้ง ๒ ด้าน ด้านนึงเป็นขวาน ด้านนึงเป็นค้อน ใช้ถากส่วนผิว เก็บรายละเอียด มีเฉพาะในภูมิภาคเชียงใหม่และล้านนา
  4. ค้อน ลักษณะด้ามเป็นวัสดุไม้ ส่วนค้อนขนาดหนาทำจากไม้เนื้อแข็ง ค้อนไม้มีความยืดหยุ่นกว่าค้อนเหล็ก แรงจะดูดซับได้ดีกว่าเวลาตอก อีกยังช่วยรักษาข้อมือผู้ใช้ ใช้ตอกสิ่ว เจาะรูเสา
  5. สิ่วบ้อง ลักษณะด้ามจับเป็นไม้ ส่วนหัวเป็นเหล็กแบนแหลม ใช้สำหรับตอกเนื้อไม้ เพื่อเจาะเนื้อไม้ สิ่วบ้องเป็นสิ่วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เหมาะสำหรับเจาะเสาเรือน วงกบ รอยต่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ของเรือน
  6. มีดเหลา ลักษณะส่วนด้ามทำจากไม้ไผ่ โค้งเข้าหาตัว ส่วนมีดทำจากเหล็กแหลม คมตลอดด้าน ใช้เหลาองค์ประกอบเล็กๆ
  7. เลื่อยก่ง ลักษณะเป็นชุดไม้ประกอบ ขนาดเหมาะมือจับ ๑-๒ คน ด้านล่างประกอบเลื่อยยาวคอแคบ ใช้ในการเลื่อย เพื่อทำรอยต่อต่างๆ เลื่อยมีน้ำหนักทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยเวลาทำงาน
  8. เลื่อนลันดา ลักษณะด้ามสั้น เลื่อยขนาดกว้างและยาว น้ำหนักเบา ชาวบ้านเรียกว่าเลื่อยฝรั่ง ใช้ตัดไม้
  9. สว่านมือ ใช้ลูกตุ้ม เหวี่ยงขึ้นลง
  10. เครื่องมือวัด ตลับเมตร เต๊า

ลูกทิ้ง

ลูกทิ้ง