สล่าพ่อหนานมีน
นายเบญจมีน สุตา
สล่า-วัด
จังหวัดเชียงใหม่
หลังคา
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องของหลังคา
คือ “อากาศกิน” เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่อยู่สูงไกลตา
ความรู้สึกเมื่อเห็นส่วนของหลังคาอาจทำให้รู้สึกว่าเล็กกว่าความเป็นจริงเสมือนหายไปในอากาศ
เพราะฉะนั้นการออกแบบต้องไม่ให้อากาศกิน (เผื่อระยะหรือขนาดในการออกแบบ)
เมื่อสร้างขึ้นมา
มองจากข้างล่างขึ้นไปก็จะเกิดสัดส่วนของอาคารพอเหมาะพองาม
การออกแบบไม่ให้เกิดภาวะอากาศกินนั้น สล่ามินจะออกแบบให้ความยาวของอกไก่ยื่นพ้นหน้าจั่วออกมา ๑.๑๐ เมตร และให้รับกับคานหัวเสาหรืออะเสให้ยื่นออกมา ๐.๙๐ เมตร เพิ่มมิติการมองจากมุมคนมองไม่ให้เกิดภาวะอากาศกิน
ช่อฟ้า
เนื่องจากอยู่บนสุดของหลังคา
ทำให้เมื่อมองจากพื้นล่างจะมีขนาดเล็กกว่าความเป็นจริงหรือถูกอากาศกิน
จึงควรสร้างให้มีขนาดใหญ่ ขนาดจากฐานถึงปลายปากประมาณ ๒ เมตร
ความหนาด้านหน้า ๑๑ นิ้ว ความหนาด้านข้าง ๑๖ นิ้ว แบ่งเป็นสองส่วน
ส่วนฐานถึงปาก ๑ เมตร ส่วนปากถึงหงอนสูงสุด ๑ เมตร
ความเอียงจากฐานไปปลายหงอน ๖๐ องศา เมื่อแกะสลักเรียบร้อย
เจาะด้านหลังเพื่อสวมเข้ากับครอบหลังคาพอดี โดยไม่เห็นปูนที่นำ
ไปพอกหลังคา ก่อให้เกิดทั้งความแข็งแรงและความสวยงาม
หางป้านลม
ฐานวิหาร
นาคเป็น
คอไม่ใหญ่
ปากไม่เต่ย (ไม่ห้อยลง) ตัวไม่ดิ้นเกิน