logo
asset
asset
เจิงช่าง
เรือน

ขั้นตอนการสร้างเรือน

  1. การออกแบบ - เขียนแบบ : คนเมือง (ล้านนา) มีความเชื่อในการสร้างเรือนตามการวางโฉลกเสา โดยจะมีจำนวนเสาเรือนที่ดีตามตำราไว้อยู่แล้ว สล่าเก๊าที่จะสร้างเรือนจะมาดูที่ดิน และหมายไว้ว่าตรงไหนเป็นเสาอะไร จะได้ขนาดเรือนตามที่ดินที่เจ้าของเรือนมีอยู่ โดยจำนวนเสารวมทั้งหมด จะต้องตกอยู่ที่ตำแหน่งที่ดีเท่านั้น หากไม่ดีก็จะมีการเพิ่มลดจำนวนเสา ซึ่งระยะห่างของเสาแต่ละต้นจะอยู่ที่ประมาณ ๒ – ๓ เมตร ยกพื้นใต้ถุน ๒.๕ – ๓ เมตร ความสูงของตัวเรือนประมาณ ๒ – ๒.๕ เมตร ระยะวางประตูจากพื้นอยู่ที่ความสูง ๘๐ เซนติเมตร ความสูงดั้งจากระยะคานประมาณ ๖๐ - ๘๐ เซนติเมตร ชายคายื่นอกมาประมาณ ๘๐ เซนติเมตร
  2. เตรียมวัสดุในการสร้างเรือน โดยที่เจ้าของเรือนจะเป็นผู้เตรียม สล่าเก๊าจะบอกว่าต้องเตรียมวัสดุเสา โครงสร้าง หลังคา องค์ประกอบอื่น ๆ ขนาดและจำนวนเท่าไหร่ที่จะใช้สร้างเรือน โดยก่อนที่จะสร้างเรือน จะมีการนำวัสดุ อุปกรณ์ ขึ้นขันโดยพระอาจารย์ในวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะลงมือสร้างเรือน
  3. ปักผัง ขุดหลุมฐานรากความลึก ๑ – ๑.๕ เมตร กว้างตามขนาดเสาที่จะปัก โดยก้นหลุมปกไม้เสาลงไปจะมีทรายบ้าง ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ปกเสาให้ได้ความสูงที่ต้องการและกลบดิน
  4. ใส่คาน : ใส่คานบน (อะแส), คานล่าง
  5. โครงสร้างหลังคา : จันทัน, กลอน, แป และมุงหลังคา
  6. โครงสร้างพื้น : คาน, ตง และปูไม้พื้น (ไม้กระดาน)
  7. โครงสร้างผนัง : โครงเคร่า, วงกบประตู – หน้าต่าง
  8. กรุผนัง (ไม้ฝา)
  9. ใส่บานประตู - หน้าต่าง
  10. ขึ้นบันไดเรือน

สัดส่วน

เครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์

เครื่องมือสร้างเรือน

  1. ค้อน : ตอกตะปู งัดตะปู
  2. ขวาน : ฟัน ซ้อม แต่งไม้
  3. สิ่ว : เจาะ
  4. ขอขืด : ขีดเพื่อกำกับการแต่งไม้
  5. ลูกดิ่ง : ลุกวัดระดับฉากตั้ง
  6. สว่านมือ : เจาะ
  7. ประแจ : ขันน็อตเพื่อยึด
  8. ประแจดัดเหล็ก : ดัดให้เหล็กงอ
  9. เลื่อย : ตัดไม้ แต่งไม้ให้ตรง หรือ โค้ง
  10. กบไสไม้ : ไสหน้าไม้ให้เรียบ, ทำบังใบ, แต่งร่องไม้, เซาะร่องใส่กระจก